ภูมิบ้านภูมิเมือง : ‘สระทั้งสี่’ ภูมิน้ำมุรธาภิเษกจากสระศักดิ์สิทธิ์โบราณ

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/lady/406490

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘สระทั้งสี่’ ภูมิน้ำมุรธาภิเษกจากสระศักดิ์สิทธิ์โบราณ

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ‘สระทั้งสี่’ ภูมิน้ำมุรธาภิเษกจากสระศักดิ์สิทธิ์โบราณ

วันอาทิตย์ ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.

พิธีเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด

วันที่ ๖ เมษายน ที่ผ่านมา ได้มีพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแหล่งน้ำสำคัญทั่วประเทศ สำหรับแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ขาดไม่ได้นั้นคือ น้ำจาก สระทั้งสี่ ในตำบลท่าเสด็จ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ อาทิตย์นี้ได้ตามหาภูมิน้ำศักดิ์สิทธิ์จากสระน้ำโบราณ โดยมี นายอรุณศักดิ์กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้เคยรับผิดชอบพื้นที่แห่งนี้ได้ให้ข้อมูลจากการศึกษาของนักโบราณคดี ด้วยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมนั้นได้มีการเตรียมพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งสำคัญทั่วประเทศสำหรับนำมาเป็นน้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษกในเดือนเมษายนนี้ ก่อนที่จะนำน้ำดังกล่าวเข้าไปประกอบในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งน้ำที่พลีกรรมนำมานั้นจะต้องมีความพิเศษกว่าน้ำธรรมดาทั่วไป

จากตำราโบราณของพราหมณ์นั้นระบุว่าต้องเป็นน้ำที่มาจาก “ปัญจมหานที” หรือแม่น้ำสายสำคัญ ๕ สาย ในชมพูทวีป ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมนา แม่น้ำมหิ แม่น้ำอจิรวดี และแม่น้ำสรภู โดยน้ำในแม่น้ำทั้ง ๕ สายนี้ ไหลมาจากเขาไกรลาส หรือภูเขาหิมาลัย ซึ่งศาสนาฮินดู-พราหมณ์ ถือว่าเป็นสถานที่สีขาวอันเป็นสถานสถิตของพระผู้เป็นเจ้าของฮินดูคือพระศิวะพระนารายณ์ เทพนับถือของไศวะนิกายและไวษณพนิกายอันเป็นพระผู้เป็นเจ้าหรือเทพเจ้าที่เคารพนับถือในชมพูทวีปและสุวรรณภูมิ

คณะตามรอยสระทั้้งสี่

สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยานั้นได้กล่าวถึงพิธีราชาภิเษก แต่ไม่พบหลักฐานการนำน้ำปัญจมหานทีในชมพูทวีปมาใช้ในราชพิธี แต่ก็เชื่อได้ว่าพราหมณ์ผู้ทำพิธีและเผยแพร่ศาสนาฮินดูนั้นน่าจะนำน้ำจากแหล่งสำคัญใส่ภาชนะติดตัวมาสำหรับทำพิธีเช่นเดียวกับสิ่งเคารพอื่นๆ ได้แก่ ศิวะลึงค์ขนาดเล็ก เช่นเดียวกับพระเถระในศาสนาพุทธ ซึ่งพบธรรมจักรขนาดเล็กดังนั้นการใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากปัญจมมหานทีจึงใช้ในลักษณะการเติมลงน้ำในหม้อบูรณฆฏะหรือเติมลงในสระน้ำเพื่อใช้สำหรับทำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยพราหมณ์ได้กำหนดและมีบทบาทสำคัญในพระราชพิธีของราชสำนักที่มีกษัตริย์ครองแผ่นดินแต่ละประเทศ “น้ำจากปัญจมหานที” จึงเป็นน้ำศักดิสิทธิ์ที่น่าจะน้ำมาพร้อมกับการเผยแพร่ศาสนาฮินดู-พราหมณ์

ดังนั้นในวาระกษัตริย์พระองค์ใดเสด็จผ่านพิภพ จะต้องทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกภายใน ๗ วัน หรืออย่างช้าภายในเดือนเศษอันเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาและกระทำกันก่อนที่จะออกพระเมรุมาศพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน หรือจะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของแผ่นดินในเวลานั้น

สระทั้้งสี่มีมาแต่สุวรรณภูมิ

จากหลักฐานการใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์มาใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นในหลักศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไทแห่งแคว้นสุโขทัยนั้นได้กล่าวถึงพ่อขุนผาเมืองอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นผู้ปกครองสุโขทัยมีข้อความจารึก เมื่อ พ.ศ. ๑๑๓๒ ว่า “น้ำพุที่ออกมาจากเขาลิงคบรรพตข้างบนวัดภูใต้นครจำปาศักดิ์นั้นใช้เป็นน้ำอภิเษก” และสมัยอยุธยามีหลักฐานการใช้น้ำสำหรับพิธีบรมราชาภิเษกจากน้ำในสระทั้งสี่ คือ สระเกษ สระแก้ว สระคา สระยมนา ที่ตั้งอยู่ในสุวรรณภูมิ คือเมืองสุพรรณบุรี เท่านั้น

ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์นั้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ นั้น ยังใช้น้ำจากแหล่งเดียวกันกับในสมัยอยุธยาแล้ว ยังได้นำน้ำจากแม่น้ำสำคัญอีก ๕ สาย ซึ่งเรียกกันว่า “เบญจสุทธิคงคา” โดยตักมาจากเมืองต่างๆ คือ ๑.น้ำในแม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าไชย จังหวัดเพชรบุรี๒.น้ำในแม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม ๓.น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่บางแก้ว จังหวัดอ่างทอง ๔.น้ำในแม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ จังหวัดสระบุรี ๕.น้ำในแม่น้ำบางประกงตักที่ตำบลพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก โดยน้ำแต่ละแห่งนั้นได้นำมาตั้งพิธีเสก ณ ปูชนียสถานสำคัญของเมืองนั้น เมื่อเสร็จพิธีแล้วจึงจัดส่งเข้ามาทำพิธีการต่อที่พระนคร

ด้วยเหตุนี้ สระทั้งสี่แต่โบราณของแคว้นสุวรรณภูมิ จึงมีการตั้งชื่อสระสอดคล้องตามคติของปัญจมหานทีในอินเดีย ซึ่งมีหลักฐานว่ามีการนำน้ำจากสระทั้งสี่มาเป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกและน้ำสรงในพระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์มาตลอด

พิธีมุรธาภิเษก

พิธีมุรธาภิเษก
พิธีมุรธาภิเษก

พิธีมุรธาภิเษก
พระครอบพระกริ่ง

พระครอบพระกริ่ง
ศิวลึงค์และฐานโยนี-ขนาดเล็ก

ศิวลึงค์และฐานโยนี-ขนาดเล็ก
สระแก้ว

สระแก้ว
สระยมนา

สระยมนา
สระคา

สระคา
สระแก้ว

สระแก้ว
รองอธิบดีกรมศิลปากร-อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

รองอธิบดีกรมศิลปากร-อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

Leave a comment